หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
ดูรายการโปรด เพิ่มเป็นรายการโปรด

โรค RSV พ่อแม่ควรรู้จัก

วันที่ 18 สิงหาคม 2559

โรค RSV ภัยร้ายที่พ่อแม่ต้องรู้จัก เพราะหากปล่อยไว้ลูกอาจจะติดเชื้อรุนแรงได้ วันนี้น้องก็เป็นอีกคนที่เป็นโรคนี้ 16/8/59 ไปหาหมอมาเพราะคิดว่าน้องเป็นหวัดตอนแรกก็คิดจะไปคลีนิคนะเพราะเร็วและสะดวกใกล้บ้าน แต่คิดแล้วก็ไปโรงพยาบาลดีกว่า จึงได้รู้ว่าน้องเป็นโรค RSV ซึ่งในวันเดียวกันที่โรงพยาบาลก็มีเด็กเป็นโรคนี้ถึง 12 คน ต้องนอนโรงพยาบาล 10 คน โชคนี้น้องไม่ต้องนอนโรงพยาบาล 18/8/59 วันนี้ไปฟังผลมาปรากฎว่าน้องไม่มีไข้แล้วสบายใจหน่อย มารู้จักกับโรค ไวรัส RSV กัน ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก บำรุงราษฎร์ healthspot

 

ไวรัส RSV…ไวรัสร้ายที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จัก

TAGS:
RSVสุขภาพเด็ก
โรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส RSV
 

ในช่วงปลายฝนต้นหนาว หนึ่งในโรคที่เป็นปัญหาสำคัญในวัยทารกและเด็กเล็กที่คุณพ่อคุณแม่คงเคยได้ยินกันบ่อยๆ ก็คือ “โรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส RSV ซึ่งเป็นโรคที่มีอาการคล้ายไข้หวัด แต่อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบได้

RSV หรือชื่อเต็มๆ ว่า Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก เชื้อไวรัสนี้สามารถทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้เนื่องจากมักเกิดพยาธิสภาพในส่วนของหลอดลมเล็ก (bronchiole) และถุงลม (alveoli) ทำให้มีการสร้างสิ่งคัดหลั่ง เช่น เสมหะ ออกมาในปริมาณมาก และมีการหดตัวของหลอดลมเนื่องจากการบวมของเยื่อบุหลอดลมและทางเดินหายใจต่างๆ ส่งผลให้เด็กมีอาการหอบ เหนื่อย และหายใจลำบากได้อย่างรวดเร็ว เชื้อนี้ติดต่อกันได้โดยการสัมผัสใกล้ชิดกับสิ่งคัดหลั่งต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ

อาการของโรคติดเชื้อไวรัส RSV บางอย่างอาจคล้ายกับอาการไข้หวัดธรรมดา เช่น ไข้ (ส่วนใหญ่ไข้ไม่สูงนัก) ไอ จาม แต่ก็มีอาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและสงสัยว่าลูกอาจได้รับเชื้อไวรัส RSV เช่น

  • หอบเหนื่อย
  • หายใจเร็ว หายใจแรง
  • หายใจครืดคราด
  • ตัวเขียว
  • มีเสียงหวีดในปอด (จากการที่เยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว)
  • มีเสมหะมาก
  • ไอโขลกๆ

ในเด็กเล็กที่อ่อนแอมาก เช่น เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด เด็กที่มีโรคหัวใจ โรคปอด และหอบหืดอยู่แล้ว อาจมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว โดยอาจมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ หรือหายใจล้มเหลว จนต้องนำเข้าหอพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติ (ICU) และอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจด้วย

ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยเฉพาะ โดยทั่วไปการรักษาจะเป็นไปตามอาการที่ป่วย เช่น ให้ยาแก้ไอละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม ยาลดไข้ หรือพ่นยา ซึ่งก็ช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ ในผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อย หายใจไม่ค่อยดี และเริ่มมีออกซิเจนในเลือดต่ำลง การรักษาจะเป็นในรูปแบบประคับประคอง เช่น ให้สารน้ำทางหลอดเลือด ให้ยาพ่นขยายหลอดลม เคาะปอด ดูดเสมหะ รวมถึงให้ออกซิเจน ส่วนในรายที่มีอาการหนักมาก อาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยให้การดูแลในหอพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติจนกว่าอาการจะดีขึ้น

ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่มีอาการหนักอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนด้วยไวรัสชนิดอื่นๆ เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่ เชื้อมัยโคพลาสมา หรือเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้การรักษาที่ครอบคลุมการติดเชื้อเหล่านี้ตามความเหมาะสม

สำหรับการป้องกันโรคนี้ นอกเหนือจากการหมั่นล้างมือบ่อยๆ แล้ว คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกป่วยควรแยกเด็กออกจากเด็กปกติเพื่อป้องกันการไอจามแพร่เชื้อให้กับผู้คนที่อยู่รอบข้าง ถ้าลูกเริ่มเข้าเนิร์สเซอรีหรือโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกหยุดเรียนอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์จนกว่าจะหายเป็นปกติอย่างไรก็ดี ในเด็กบางรายถึงแม้จะหายแล้วก็ยังอาจมีอาการไอต่อเนื่องไปเป็นเดือนได้

เรียบเรียงโดย นพ.ประสงค์ พฤกษานานนท์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อในเด็ก ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
 

เจ้าของไดอารี่

กำลังทำอะไรอยู่
ยังไม่ได้เขียนอะไร

thinnakrit
ความสนใจ:
ยังไม่ได้ระบุ
<<สิงหาคม 2559>>
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031

ไดอารี่วันอื่นๆ

2 กันยายน 2559

สถิติผู้เยี่ยมชม

ผู้เยี่ยมชมวันนี้ 1 คน
ผู้เยี่ยมชมทั้งหมด 5,802

ไดอารี่เพื่อนบ้าน

thinnakrit ยังไม่มีไดอารี่เพื่อนบ้าน

อัลบัมโหวตของ thinnakrit

ไดอารี่ที่อัพเดทล่าสุด

โดย พงษ์ศักดิ์ หิรัญเขต
';