หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
ดูรายการโปรด เพิ่มเป็นรายการโปรด

งานประเพณี**/**

วันที่ 19 มกราคม 2552

งานประเพณี บุญสารทเดือนสิบ


สารทเดือนสิบ

การทำบุญเดือนสิบ มิได้มีอยู่ที่ภาคใต้แห่งเดียว หากมีทั่วไปทั่วไปทั้งภูมิภาคในชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น

*- ในภาคอีสาน เรียก บุญข้าวประดับดินและบุญข้าวสากหรือข้าวสลาก

*- ภาคเหนือ เรียก กินก๋วยสลาก หรือทานก๋วยสลาก

*- ภาคกลาง เรียก สลากภัตรและสลากกระยาสารท

*- ในท้องถิ่นภาคใต้มี ประเพณีทำบุญเดือนสิบ

โดยเฉพาะ 'งานเดือนสิบ' ของ นครศรีธรรมราช เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางที่สุด ประเพณีดังกล่าวทำต่อเนื่องกันมาช้านานตั้งแต่กาลดึกดำบรรพ์ "ทำบุญเดือนสิบ" ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเชิญผีบรรพบุรุษ คือ ปู่ ย่า ตา ยาย ที่ตายไปแล้วมากินเลี้ยง แต่ทุกวันนี้มีประเพณีชิงเปรตในเทศกาลวันสารทเดือนสิบ โดยทำร้านจัดหฺมฺรับ คือ สำรับกับข้าว ไปวางไว้เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้เปรตที่หมายถึงผีบรรพบุรุษ เมื่อวางแล้วก็มีผู้คนทั้งหลายไปแย่งสิ่งของเหล่านั้น จึงเรียกว่า "ชิงเปรต" เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันทั่วไปในภาคใต้ โดยเฉพาะในท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการปฏิบัติประเพณีนี้อย่างจริงจังมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน

-* ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ เป็นประเพณียิ่งใหญ่ มากในจังหวัดนครศรีธรรมราช จะมีขึ้นในวันแรม ๑๓ ค่ำ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือนสิบในราวเดือนกันยายน หรือตุลาคมของทุกปี

-* ประเพณีบุญสาารทเดือนสิบเกิดขึ้นด้วยเหตุผลในทำนองเดียวกับชาวอินเดียที่มีพิธี 'เปตพลี' เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งจะถูกปล่อยตัวจากยมโลกเพื่อให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้องและลูกหลานในเมืองมนุษย์ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนสิบ และกลับลงไปอยู่ในนรกดังเดิม ในวันแรก ๑๕ ค่ำเดือนสิบ ลูกหลานจึงนำอาหารไปทำบุญที่วัดเพื่อเป็นการอุทิศ ส่วนกุศลให้แด่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยทำในวันแรก ที่ผู้ล่วงลับมาจากยมโลก คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือนสิบ เรียกว่า 'วันหฺมฺรับเล็ก' และวันที่ผู้ล่วงลับจะต้องกลับยมโลกดังเดิมคือวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ เรียกว่า วันหฺมฺรับใหญ่' (คำว่า 'หฺมฺรับ' มาจากคำว่า 'สำรับ' )

-* งานจะเริ่มครึกครื้นตั้งแต่วันแรก ๑๓ ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งถือว่าเป็น 'วันจ่าย' เนื่องจากชาวเมือง จะหาซื้อสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้จัดหฺมฺรับในวันแรม ๑๔ ค่ำเดือนสิบ 'วันยกหฺมฺรับ' หรือ 'วันรับตายาย' จะ ยกหฺมฺรับไปวัดและนำอาหารและขนม ส่วนหนึ่งวางไว้ตามที่ต่าง เช่น ริมกำแพงวัด โคนต้นไม้ เป็นต้น เพื่อแผ่ส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วที่ปราศจากญาติ ระยะหลังมักนิยมสร้างร้านให้ผู้คนนำขนมมาวางรวมกัน ร้านที่สร้างเรียกว่า 'หลาเปรต' (หลา คือ ศาลา)

-* ที่หลาเปรตจะมีสายสินจน์ผูกอยู่เพื่อให้พระสงฆ์สวดบังสุกุลเพื่อส่งกุศลให้ผู้ล่วงลับ เมื่อเสร็จพิธีผู้คน จะแย่งกันไปเอาขนมที่หลาเปรต เรียกว่า 'ชิงเปรต' เพราะมีความเชื่อว่าการกินของที่เหลือจากเซ่นไหว้บรรพชนได้กุศลแรง

ความเป็นมา
ของงานเทศกาลเดือนสิบ เมืองนครศรีธรรมราช
........“งานเทศกาลเดือนสิบ” จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ที่สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราชโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาเงินสร้างสโมสรข้าราชการ ซึ่งชำรุดมากแล้ว โดยในช่วงนั้น พระภัทรนาวิก จำรูญ(เอื้อน ภัทรนาวิก) ซึ่งเป็นนายกศรีธรรมราชสโมสร และพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการได้ร่วมกันจัดงานประจำปีขึ้นโดยได้จัดกำหนดเอางานทำบุญเดือนสิบมาจัดเป็นงานประจำปี พร้อมทั้งมีการออกร้าน และมหรสพต่างๆโดยมีระยะเวลาในการจัดงาน ๓ วัน ๓ คืน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ทางจังหวัดได้ย้ายสถานที่จัดงานจากสนามหน้าเมืองไปยังสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ๘๔ (ทุ่งท่าลาด) ซึ่งมีบริเวณกว้าง และได้มีการจัดตกแต่งสถานที่ไว้อย่างสวยงาม รวมทั้งได้ทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดงานไปจากเดิมหลายประการ


ความสำคัญ
ของประเพณีสารทเดือนสิบของ ชาวนครศรีธรรมราช
........การทำบุญสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีที่ชาวเมืองนครศรีธรรมราชได้ถือปฏิบัติด้วยศรัทธาแต่ดึกดำบรรพ์โดยถือเป็นคติว่าปลายเดือนสิบของแต่ละปี เป็นระยะที่พืชพันธุ์ธัญญาหารในท้องถิ่นออกผล เป็นช่วงที่ชาวเมืองซึ่งส่วนใหญ่ยังชีพด้วยการเกษตร ชื่นชมยินดีในพืชของตน ประกอบด้วยเชื่อกันว่า ในระยะเดียวกันนี้เปรตที่มีชื่อว่า “ปรทัตตูปชีวีเปรต” จะถูกปล่อยใหัขึ้นมาจากนรก เพื่อมาร้องขอส่วนบุญต่อลูกหลานญาติพี่น้อง เหตุนี้ ณ โลกมนุษย์จึงได้มีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปไห้พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย พี่น้อง ลูกหลานที่ล่วงลับไป โดยการจัดอาหารคาวหวานวางไว้ที่บริเวณวัด เรียกว่า “ตั้งเปรต” ตามพิธีไสยเวทอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้พัฒนามาเป็น “การชิงเปรต” ในเวลาต่อมา

เหตุผลของการจัดหฺมฺรับ........ปลายเดือนสิบอันเป็นระยะเริ่มฤดูฝน “การอิงศาสภิกษุ” ด้วยพืชผลที่ยังไม่ได้ปรุงเป็นอาหารคาวหวานสำหรับขบฉันในทันทีที่ขับประเคนนั้น ชาวเมืองมุ่งหมายจะให้เสบียงเลี้ยงสงฆ์ในฤดูกาลอันยากต่อการบิณฑบาต และเพื่อมิให้ฉันทาคติบังเกิดแก่ทั้งสองฝ่าย คือสงฆ์ และศรัทธาถวายพืชผักสดแก่สงฆ์ จึงใช้วิธี “ สลากภัต” คือจัดใส่ภาชนะตกแต่ง เรียกว่า “สำรับ” หรือ “หฺมฺรับ”

“หฺมฺรับ” หัวใจของการทำบุญเดือนสิบ
........การจัดหฺมฺรับ เป็นการเตรียมเสบียงอาหารบรรจุในภาชนะเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ในช่วงเทศกาลเดือนสิบ เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพชน หรือญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ได้นำกลับไปใช้สอยในนรกภูมิ หลังจากถูกปล่อยตัวมาอยู่ในเมืองมนุษย์ช่วงเวลาหนึ่ง และต้องถึงเวลากลับไปใช้กรรมตามเดิม ฉะนั้น บรรดาลูกหลานก็จะต้องจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ อาหาร ฯลฯ มิให้ขาดตกบกพร่องแล้วบรรจงจัดลงภาชนะ ตกแต่งประดับประดาด้วยดอกไม้ให้สวยงาม เพื่อทำในสิ่งที่ดีที่สุดให้บรรพบุรุษ ด้วยใจที่เปี่ยมไปด้วยความรัก ความผูกพัน และความกตัญญู

การปฎิบัติตามประเพณีสารทเดือนสิบ
.......ช่วงของการทำบุญเดือนสิบ จะมีวันที่ถูกกำหนดเพื่อดำเนินการเรื่อง “หฺมฺรับ” อยู่หลายวัน และจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน กล่าวคือ

วันหฺมฺรับเล็ก ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำเดือนสิบ เชื่อกันว่าเป็นวันแรกที่วิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วได้รับอนุญาตให้กลับมาเยี่ยมลูกหลาน ซึ่งลูกหลานจะจัดสำหรับอาหารคาวหวานไปทำบุญที่วัด เป็นการต้อนรับ บางท้องถิ่นเรียกวันนี้ว่า “วันรับตายาย”

วันจ่าย ตรงกับวันแรม ๑๓ ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่คนนครต้องตระเตรียมข้าวของสำหรับจัดหฺมฺรับ โดยไปตลาดเพื่อจัดจ่ายข้าวของเป็นการพิเศษกว่าวันอื่นๆ

วันยกหฺมฺรับ ตรงกับวันแรม ๑๔ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่ลูกหลานร่วมกันแบกหาม หรือ ทูนหฺมฺรับที่จัดเตรียมเรียบร้อยแล้ว ไปถวายพระที่วัด อาจจะรวมกลุ่มคนบ้านไกล้เรือนเคียงไปเป็นกลุ่มตามธรรมชาติ หรือบางทีอาจจะจัดเป็นขบวนแห่เพื่อความคึกคักสนุกสนานก็ได้

วันหฺมฺรับใหญ่ หรือ วันหลองหฺมฺรับ ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่นำอาหารคาวหวานไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัดครั้งใหญ่ ทำพิธีบังสุกุล อุทิศส่วนกุศลให้บรรพชน และตั้งเปรตเพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้วิญญาณที่ไม่มีลูกหลานมาทำบุญให้ ขณะเดียวกันก็ทำพิธีฉลองสมโภชหฺมฺรับที่ยกมา

การจัดหฺมฺรับ
การจัดหมรับมักจัดเฉพาะครอบครัวหรือจัดรวมกันในหมู่ญาติ และจัดเป็นกลุ่ม ภาชนะที่ใช้จัดหมรับนิยมใช้กระบุงหรือเข่งสานด้วยตอกไม้ไผ่ ขนาดเล็กหรือใหญ่ ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของเจ้าของหมรับ ปัจจุบันใช้ภาชนะหลายชนิด เช่น ถาด กระเชอ กะละมัง ถัง หรือภาชนะที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นกรณีพิเศษ การจัดหมรับเป็นการบรรจุ ประดับด้วยสิ่งของอาหารขนมเดือนสิบ ฯลฯ โดยจัดเป็นชั้น ๆ ดังนี้
1.1) ชั้นล่างสุด จัดบรรจุสิ่งของประเภทอาหารแห้ง ลงไว้ที่
ก้นภาชนะ ได้แก่ ข้าวสาร แล้วใส่พริก เกลือ หอม กระเทียม กะปิ น้ำเปล่า น้ำตาล มะขามเปียก รวมทั้งบรรดาปลาเค็ม เนื้อเค็ม หมูเค็ม กุ้งแกง เครื่องปรุงอาหารที่จำเป็น
1.2) ชั้นที่สอง จัดบรรจุอาหารประเภทพืชผักที่เก็บไว้ได้
นานใส่ขึ้นมาจากชั้นแรก ได้แก่ มะพร้าว ขี้พร้า หัวมันทุกชนิด กล้วยแก่ ข้าวโพด อ้อย ตะไคร้ ลูกเนียง สะตอ รวมทั้งพืชผักอื่นที่มีในเวลานั้น
1.3) ชั้นที่สาม จัดบรรจุสิ่งของประเภทของใช้ในชีวิต
ประจำวัน ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าด ไต้ ไม้ขีดไฟ หม้อ กระทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย หมาก พลู กานพลู การบูร พิมเสน สีเสียด ปูน ยาเส้น บุหรี่ ยาสามัญประจำบ้าน ธูป เทียน
1.4) ชั้นบนสุด ใช้บรรจุขนมสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบ
เป็นสิ่งสำคัญของหมรับ ได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ขนมกง (ขนมไข่ปลา) ขนมบ้า ขนมดีซำ ขนมเหล่านี้มีความหมายในการทำบุญเดือนสิบ ซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพื่อให้บรรพบุรุษและญาติที่ล่วงลับได้นำไปใช้ประโยชน์

สัญลักษณ์ของขนมที่ใช้ในการจัดหฺมฺรับ

ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนเรือ แพ ที่บรรพบุรุษใช้ข้ามห้วงมหรรณพ เหตุเพราะขนมพองนั้นแผ่ดังแพมีน้ำหนักเบาย่อมลอยน้ำ และขี่ข้ามได้
ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนแพรพรรณ เครื่องนุ่งห่ม เหตุเพราะขนมลามีรูปทรงดังผ้าถักทอ พับ แผ่ เป็นผืนได้
ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนลูกสะบ้า สำหรับใช้เล่นต้อนรับสงกรานต์ เหตุเพราะขนมบ้ามีรูปทรงคล้ายลูกสะบ้า การละเล่นที่นิยมในสมัยก่อน
ขนมดีซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงิน เบี้ย สำหรับใชัสอย เหตุเพราะรูปทรงของขนมคล้ายเบี้ยหอย
ขนมกง(ไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องปรัดับ เหตุเพราะรูปทรงมีลักษณะคล้ายกำไล แหวน
ลาลอยมัน เป็นสัญลักษณ์แทนฟูก และหมอน ซึ่งมีในบางท้องถิ่น

++++++++++++++++++++++++

ประเพณีชิงเปรต


ช่วงเวลา วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐

ความสำคัญ "ชิงเปรต" เป็นประเพณีของภาคใต้ที่กระทำกันในวันสารท เดือน ๑๐ เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวไว้ในสารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า การชิงเปรตที่ปฏิบัติกันในประเพณีสารทเดือน ๑๐ นี้ มีลักษณะคล้ายกับการทิ้งกระจาดของจีน แต่การทิ้งกระจาดของจีนมีเป้าหมายตรงกับการตั้งเปรต-ชิงเปรตเพียงบางส่วนเท่านั้น กล่าวคือการทิ้งกระจาดของจีนเป็นการทิ้งทานให้แก่พวกผีไม่มีญาติ ส่วนการชิงเปรตของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี(เปรต) ที่เป็นญาติพี่น้องของตนเอง และที่ไม่มีญาติด้วย นอกจากนี้วิธีการปฏิบัติในการทิ้งกระจาดและการชิงเปรตก็แตกต่างกันด้วย

ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการทำบุญด้วยซ้ำไป เพราะชื่อว่าบุตรหลานของเปรตตนใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนนั้น เพียงแต่ว่าผู้ชิงต้องระมัดระวังในการที่อาหารหรือขนมที่ตั้งเปรตอาจตกหลานลงพื้น ซึ่งจะทำให้เกิดความสกปรกและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น




ความเป็นมา
คำว่า เปรต ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้คำจำกัดความว่า “สัตว์พวกหนึ่งเกิดใน อบายภูมิ คือ แดนทุกข์ ผีเลวจำพวกหนี่งมีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่างสูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหงอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปากเท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้องเสียงดังวี้ด ๆ ในเวลาตอนกลางคืน”
แต่สำหรับชาวใต้ เปรต มีความหมายว่า ผู้ล่วงลับไปแล้วมีพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้อง เป็นต้น ที่อาจจะมีบาปมากต้องตกนรก ญาติเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้มีกรรม แต่ทุกปีในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 พญายมจะปล่อยให้ขึ้นมาพบลูกหลานได้ และกำหนดวันให้กลับไปนรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 รวมแล้วมีเวลาอยู่ในโลกมนุษย์ได้ราว 15 วัน
ศูนย์กลางการจัดงานบุญเดือนสิบที่มีชื่อเสียงและยิ่งใหญ่ คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นอาณาจักรที่เคยรุ่งเรืองด้าน พุทธศาสนา และ ศาสนาพราหมณ์ มาก่อน จนเป็นที่สันนิษฐานว่า งานบุญเดือนสิบอาจได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดียที่แพร่หลายในสมัยนั้น
ประเพณีทำบุญเดือนสิบ มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปหลายชื่อตามวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ตามความเชื่อและตามลักษณะของการจัดงาน เช่น
1. เรียกตามชื่อเดือนที่จัดงาน เรียกว่า "ประเพณีทำบุญเดือนสิบ"
2. เรียกชื่อตามประเพณี "สารท" ของอินเดียที่เรารับเอาวัฒนะธรรมนี้มา คำว่า "สารท" เป็นภาษาบาลีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายว่า "เกี่ยวกับหรือเกิดในฤดูใบไม้ร่วง, เทศกาลทำบุญสิ้นเดือนสิบ" ในอินเดีย คำว่า "สารท" หมายถึง ฤดูใบไม้ร่วง เป็นฤดูกาลที่พืชพันธุ์ธัญญาหารกำลังผลิดอกออกผล ชาวอินเดียจะเก็บเกี่ยวไปทำขนมเซ่นพลีบูชาผีปู่ย่าตายาย และเทพเจ้าที่ตนนับถือ เพื่อตอบแทนพระคุณที่บันดาลให้มีพืชพันธุ์ธัญญาหาร บางแห่งบางท้องถิ่นเรียกงานนี้ว่า "ประเพณีทำบุญวันสารท" หรือ "ประเพณีทำบุญสารทเดือนสิบ"
3. เรียกตามชื่อตามขั้นตอนและลักษณะสำคัญของงานประเพณี เช่น "ประเพณียกหมรับ" หรือ "ประเพณีชิงเปรต"
4. เรียกชื่อตามความมุ่งหมายหลักของประเพณี เพราะประเพณีการทำบุญนี้มีความมุ่งหมายหลักอยู่ที่ การทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ ปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว บางท้องถิ่นจึงเรียกประเพณีนี้ว่า "ประเพณีทำบุญตายาย" หรือ ประเพณีรับส่งตายาย"









ขั้นตอนพิธีกรรมงานบุญเดือนสิบ
ในวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ ชาวบ้านไม่ถือเป็นวันสำคัญนัก ง่าย ๆ เพียงจัดเตรียมอาหารหวานคาว ไปทำบุญถวายพระภิกษุสงฆ์ตามวัดวาอาราม เพื่อต้อนรับการกลับมาของตายาย บางที่ชาวบ้านเรียกว่า วันรับตายาย จัดหมรับ หรือ สำรับอาหารตามสมควรไม่จัดใหญ่โต ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชบางท้องถิ่นเรียกว่า วันหมรับเล็ก แต่ในวันแรม 15 ค่ำซึ่งเป็นวันสำคัญ (วันแรม 13 ค่ำ แรม 14 ค่ำ และแรม 15 ค่ำ) ชาวบ้านจะจัดหมรับ หรือสำรับอย่างใหญ่ เรียกว่า วันหมรับใหญ่ มีขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรม ดังนี้

1. วันเตรียมการหรือวันจ่าย อยู่ในช่วงระยะเวลาก่อนวันแรม 1 ค่ำ ประมาณ 15-20 วัน เป็นการเตรียมการจับจ่ายใช้สอยซื้ออาหาร ขนม สิ่งของเครื่องใช้สำหรับการทำบุญ

2. การจัดหมรับ ส่วนใหญ่จะจัดกันในวันแรม 14 ค่ำ เดือนสิบ ชาวบ้านจะชุมนุมรวมตัวกันที่ลานวัด เพื่อเตรียมสิ่งของต่าง ๆ ตั้งแต่ภาชนะที่นิยมใช้ เช่น กระบุง กระจาด หรือถาด กะละมังก็ได้ แล้วนำของแห้งที่จำเป็นใช้ในชีวิตประจำ เช่น ข้าวสาร หอมแดง กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำปลา น้ำตาล ปลาเค็ม เนื้อเค็ม มะพร้าว ฟัก กล้วยดิบ มัน อ้อย ข่า ตะไคร้ ขมิ้น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าด ขี้ไต้ ไม้ขีด หม้อ กระทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย และเครื่องเชี่ยนหมาก ได้แก่ หมาก พลู ปูน กานพลู การบูร พิมเสน สีเสียด ยาเส้น บุหรี่ ยาสามัญประจำบ้าน ธูปเทียน น้ำดื่ม แต่สิ่งสำคัญที่ต้องจัดใส่รับคือ ขนม 5 อย่าง ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของงานเดือนสิบ








ขนมพอง
เป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพ ตามคติพุทธศาสนา ขนมพอง ใช้ข้าวเหนียวนึ่ง ตากแดดพอแห้ง ทอดกับน้ำมันให้พองตัว โรยด้วยน้ำตาลให้หวาน เป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับผู้ล่วงลับใช่ล่องข้าม ห้วงมหรรณพ ตามคติทางพุทธศาสนา

ขนมลา
แทนเครื่องนุ่งห่มแพรพรรณ ขนมลา เป็นเส้นละเอียดสีเหลืองทำจาก แป้งมัน น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลทราย และไข่ไก่ เป็นสัญลักษณ์แทนแพรพรรณและเครื่องนุ่งห่ม

การทำขนมลา "วิธีการทำขนมลาการทำขนมลา"
ส่วนประกอบ
1. ข้าวเจ้า
2. น้ำตาลทราย
3. น้ำผึ้ง
4. น้ำมันมะพร้าวใหม่ๆ (หรือน้ำมันอื่นๆ)
5. ไข่ต้ม (ใช้เฉพาะไข่แดง)
วิธีทำ
• ล้างข้าวจ้าวให้สะอาดแล้วหมักลงกระสอบจูดทิ้งไว้ 2 คืน ครบกำหนดนำออกล้างให้หมดกลิ่น โม่เป็นแป้งแล้วบรรจุลงถุงผ้าบางๆ แขวนหรือวางไว้ให้สะเด็ดน้ำ พอหมาดนำไปวางราบลง หาของหนักๆ วางทับเพื่อให้แห้งสนิท นำแป้งที่แห้งแล้วนั้นไปตำให้ร่วน ใส่น้ำผึ้งคลุกเคล้าจนเข้ากันดี เอามือจุ่มโรย(ทอด)ดู เมื่อเห็นว่าเป็นเส้นดีและโรยได้ไม่ขาดสายก็ใช้ได้ ลองชิมดูรสจนเป็นที่พอใจ
• โรยทอดด้วยกระทะขนาดใหญ่ ไฟอ่อนๆ เอาน้ำมันผสมไข่แดงทาให้ทั่วกระทะ พอกระทะร้อนได้ที่ ตักแป้งใส่กะลามะพร้าวหรือขันหรือกระป๋องที่ทำขึ้นอย่างประณีตสำหรับโรยแป้งโดยเฉพาะคือเจาะก้นเป็นรูเล็กๆ จนพรุน
• วิธีการโรยก็วนไปวนมาให้ทั่วกระทะ หลายๆ ครั้ง จนได้แผ่นขนาดใหญ่ตามต้องการ สุกแล้วใช้ไม้ปลายแหลมพับตลบนำมาวางซ้อนๆ กันให้สะเด็ดน้ำมัน โรยแผ่นใหม่ต่อไป อย่าลืมทาน้ำมันผสมไข่แดงทุกครั้งไป
• ขนมลาให้โปรตีนจากแป้ง น้ำตาล และไข่แดง และมีส่วนประกอบของไขมันอยู่ด้วย เป็นขนมที่แสดงถึงฝีมือประณีตบรรจงอย่างยิ่ง จากแป้งข้าวเจ้า ผสม น้ำผึ้ง แล้วค่อยๆ ละเลงลงบนกระทะน้ำมันที่ร้อนระอุ กลายเป็นแผ่นขนมลาที่มีเส้นเล็กบางราวใยไหม สอดสานกันเป็นร่างแห

]


ขนมกงหรือขนมไข่ปลา
แทนเครื่องประดับ ขนมกงหรือขนมไข่ปลา ใช้ถั่วเขียวซีกต้มจนเละ ผสมกับน้ำตาลทรายกวนจนเหนียวแล้วปั้นเป็นรูปไข่ปลา ชุบแป้งทอด เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ




ขนมดีซำ
แทนเงิน/เบี้ยสำหรับใช้จ่าย ขนมดีซำ หรือขนมเจาะหู ทำจากแป้งข้าวผสมกับน้ำตาลทราย ฟักทองและมันล้า นวดแล้วปั้นเป็นทรงกลมเจาะรูตรงกลาง นำไปทอด เป็นสัญลักษณ์แทนเงิน/เบี้ยสำหรับใช้จ่าย




ขนมบ้า
แทนลูกสะบ้าสำหรับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วใช้เล่นสนุกสนาน ในวันสงกรานต์หรือวันว่าง ขนมบ้า ทำจากแป้งข้าวผสมกับน้ำตาลทราย ฟักทองและงาขาว ปั้นให้เหมือนลูกสะบ้า นำไปทอด เป็นสัญลักษณ์ แทนลูกสะบ้าสำหรับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วใช้เล่นสนุกสนาน ในวันสงกรานต์หรือวันว่าง

3. การยกหมรับหรือการถวายภัตตาหาร เมื่อจัดหมรับหรือสำรับข้าวปลาอาหารและสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เสร็จแล้ว จะมีการยกหมรับไปวัดและถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ในวันแรม 15 ค่ำ บางแห่งบางท้องถิ่นจัดงานเฉพาะการแห่หมรับเป็นงานใหญ่มีขบวนแห่ แต่งเป็นขบวนเปรตในรูปลักษณ์ต่างกัน คล้ายขบวนผีเปรตในงานฮาโลวีนของชาวคริสต์ เป็นที่เอิกเกริกสนุกสนานกัน ก่อนจะยกหมรับไปวัดมีงานทำบุญฉลองหมรับ ทางใต้เรียกว่า งานหลองหมรับ

4. การตั้งเปรต เมื่อมีการยกหมรับถวายภัตตาหารทำบุญเลี้ยงพระ และบังสุกุลเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่บุรพชนแล้ว จะมี พิธีการตั้งเปรต แต่เดิมจะกระทำโดยการนำเอาอาหารอีกส่วนหนึ่งไปวางไว้ตามที่ต่าง ๆ ซึ่งคาดว่าเปรตจะเดินผ่าน เช่น ตรงทางเข้าวัดบ้าง ริมกำแพงวัด ตามโคนต้นไม้ทั้งในวัดและนอกวัด ต่อมาในระยะหลังมีการสร้างตั้งร้านสูงพอสมควร เรียกว่า หลักเปรต หรือ ศาลาเปรต หรือ หลาเปรต เพื่อนำข้าวปลาอาหาร โดยเฉพาะขนมทั้ง 5 อย่างดังกล่าวมาแล้ว ใส่กระทงหรือภาชนะต่าง ๆ ไว้เซ่นไหว้บุรพชน แล้วนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธี จำนำสายสิญจน์ที่พระสงฆ์จัดไว้มาผูกไว้กับหลาเปรต แผ่ส่วนบุญกุศลแก่บุรพชน
การสร้างศาลาเปรตให้สูง เข้าใจว่า เพื่อความสะดวกแก่เปรตในการบริโภค เพราะมีความเชื่ออันว่าเปรตมีรูปร่างสูง ไม่ต้องก้มๆ เงยๆ เวลากินอาหารที่ลูกหลานเซ่นไหว้ เมื่อเสร็จพิธีสงฆ์และเก็บสานสิญจน์แล้ว จึงให้เด็ก ๆ และชาวบ้านที่มาร่วมในงาน เข้ามาแย่งอาหารที่ตั้งไว้บนหลาเปรต ชาวบ้านจะกรูกันเข้าแย่งชิงอาหารที่ตั้งไว้นั้น เรียกว่า "ชิงเปรต" การชิงเปรตเป็นเรื่องสนุกสนาน ครื้นเครง เฮฮาของหนุ่มสาวและเด็ก เนื่องจากมีความเชื่อว่าของที่เหลือจากการเซ่นไหว้บุรพชน ถ้าใครได้กินจะได้รับกุศลแรงเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
งานบุญเดือนสิบหรือประเพณีชิงเปรตนี้ นับเป็นงานบุญที่สำคัญของชาวภาคใต้ และถือเป็นการรวมญาติมิตรที่อยู่ห่างไกลภูมิลำเนาได้กลับมาพบเจอเพื่อร่วมทำบุญ แสดงให้เห็นวัฒนธรรมไทยที่มีคุณค่าต่อจิตใจ และค่านิยมในเรื่องของความกตัญญูได้อย่างดี





:)) รัก ตัวเอง [♥] ซุปเปอร์Me'* GUiDE ♥ +
รวมของน่ารักแต่งได เว็บ บล๊อค จากเกาหลี

เจ้าของไดอารี่

กำลังทำอะไรอยู่
ไม่ได้อัพเดทสถานะมาช่วงหนึ่งแล้ว
840 วันที่ผ่านมา

♥ ii-MayozZ
ความสนใจ:
เพลง, ภาพยนต์, อินเตอร์เน็ต, เกมส์, หนังสือ, กล้อง, ท่องเที่ยว, การ์ตูน, นิยาย/งานเขียน, การศึกษา, รถยนต์/จักรยานยนต์, ดูดวง/โหราศาสตร์, สัตว์เลี้ยง
<<มกราคม 2552>>
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
    123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031

ไดอารี่วันอื่นๆ

23 กุมภาพันธ์ 2552
28 มกราคม 2552
19 มกราคม 2552
18 มกราคม 2552

สถิติผู้เยี่ยมชม

ผู้เยี่ยมชมวันนี้ 13 คน
ผู้เยี่ยมชมทั้งหมด 65,973

ไดอารี่เพื่อนบ้าน

♥ ii-MayozZ ยังไม่มีไดอารี่เพื่อนบ้าน

อัลบัมโหวตของ ♥ ii-MayozZ

♥ ii-MayozZ ยังไม่มีอัลบัมโหวต

ไดอารี่ที่อัพเดทล่าสุด

โดย พงษ์ศักดิ์ หิรัญเขต
';